Futaba Industrial ลดเวลาในการวัดได้ถึง 45% และเปลี่ยนมาใช้ระบบดิจิทัล
ทั่วทั้งองค์กรด้วยระบบนิเวศดิจิทัลการวัด 3 มิติอัจฉริยะของ PolyWorks®
Futaba Industrial เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนปั๊มขึ้นรูปโลหะสำหรับยานยนต์ระดับโลกที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1945 และมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองโอคาซากิ จังหวัดไอจิ ประเทศญี่ปุ่น
Futaba Industrial ผลิตชิ้นส่วนตัวถังรถยนต์และชิ้นส่วนระบบไอเสียให้กับผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ด้วยการใช้ปั๊มชิ้นงานขึ้นรูป ในสำนักงานใหญ่และบริษัทสาขามีพนักงานมากกว่า 10,000 คน ทำงานที่โรงงานในญี่ปุ่น 10 แห่ง และบริษัทในต่างประเทศ 19 แห่ง ซึ่งตั้งอยู่ในยุโรป เอเชีย และอเมริกาเหนือ
PolyWorks|DataLoop คือโซลูชันที่ช่วยให้สามารถจัดการข้อมูลส่วนกลางสำหรับโปรเจ็กต์ PolyWorks|Inspector และใช้แนวทางการปฏิบัติงานที่เหมาะสมสำหรับการจัดการข้อมูลจำนวนมากได้
ความท้าทาย
เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพที่เข้มงวดของผู้ผลิตรถยนต์ Futaba Industrial จึงทำซ้ำขั้นตอนการสร้างต้นแบบและการวัด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมงานก่อนการผลิต บริษัทจะวัดผลิตภัณฑ์ต้นแบบและยืนยันว่าความเบี่ยงเบนอยู่ภายในค่าความคลาดเคลื่อนยินยอม ในขณะที่ทำการปรับปรุงและตรวจวัด
แต่เดิมนั้น Futaba Industrial ใช้เกจวัดและเวอร์เนียร์คาลิเปอร์กับงานวัด โดยพนักงานต้องดำเนินการด้วยตัวเอง จากนั้นวิศวกรจะจดผลการวัดลงในกระดาษ ซึ่งอาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้ วิธีนี้ทำให้ยากต่อการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน อีกทั้งยังต้องพึ่งพาทักษะของผู้ที่รับผิดชอบงานวัดดังกล่าวด้วย
โซลูชัน
เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ในปี 2001 Futaba Industrial จึงตัดสินใจเริ่มต้นใช้งานอุปกรณ์การวัด 3 มิติด้วยซอฟต์แวร์ PolyWorks|Inspector™ จาก InnovMetric บริษัทสัญชาติแคนาดา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการวัด Futaba คุ้นเคยกับซอฟต์แวร์นี้เป็นอย่างดี เนื่องจากลูกค้าบางรายของบริษัทใช้ซอฟต์แวร์นี้เช่นกัน Futaba จึงยังคงใช้ PolyWorks|Inspector อย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
เมื่อไม่นานมานี้ Futaba Industrial ขยายการใช้งานของ PolyWorks|Inspector มายังอุปกรณ์การวัด 3 มิติอื่นๆ ในช่วงเริ่มแรก บริษัทใช้อุปกรณ์การวัดเฉพาะในโรงงานที่ทาคาฮาชิเท่านั้น แต่ปัจจุบัน มีการใช้ PolyWorks|Inspector กับอุปกรณ์การวัด 3 มิติแบบไร้สัมผัสจากผู้ผลิตสามรายและใช้กับการวัดด้วยเครื่อง CNC CMM ในโรงงาน 10 แห่ง ซึ่งรวมถึงบริษัทสาขาต่างๆ ในญี่ปุ่นด้วย
เมื่อมีการใช้อุปกรณ์การวัด 3 มิติอย่างแพร่หลาย จึงมีความต้องการใหม่ๆ เกิดขึ้นเพื่อให้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลการวัดที่ได้จากกระบวนการวัดและการตรวจวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากข้อมูลนั้นๆ มีองค์ความรู้และผลการตรวจสอบที่เป็นประโยชน์อยู่ด้วย นาย Kohei Mizuno ผู้รับผิดชอบการปฏิบัติงานด้านการวัดในโรงงานที่ทาคาฮาชิ เล่าให้ฟังว่า "แต่เดิมเราใช้ PolyWorks|Inspector เพื่อให้ข้อมูล รวมถึงการสแกนและผลการตรวจวัดแก่ลูกค้า แต่หลังจากนั้น เราก็เริ่มเรียนรู้ว่าเราสามารถปรับปรุงการผลิตภายในองค์กรโดยใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ส่วนใหญ่ได้มาจากการสแกนได้ด้วย เช่น การปรับแต่งแท่นพิมพ์ และหากจะทำแบบนั้น เราต้องทำให้โรงงานทุกแห่งสามารถใช้ข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ภายในที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตรวจวัดต่างๆ ได้ ในตอนเริ่มแรก เราทำการคัดลอกโปรเจ็กต์การตรวจวัดที่จำเป็นไปยังแฟลชไดรฟ์ USB หรือไม่ก็เซิร์ฟเวอร์ แล้วค่อยแชร์ แต่นั่นก็ทำให้เกิดความยุ่งยาก เพราะเราต้องส่งคำขอให้ฝ่ายอื่นๆ เพื่อสอบถามว่าจะต้องคัดลอกไฟล์ไปไว้ที่ไหน และพอจำนวนและขนาดของไฟล์เพิ่มขึ้น การจัดการก็ทำได้ยากขึ้นด้วย"
เพื่อแก้ไขปัญหานี้ Futaba Industrial จึงตัดสินใจติดตั้ง PolyWorks|DataLoop™
ซึ่งเป็นโซลูชันที่ช่วยให้สามารถจัดการโปรเจ็กต์ PolyWorks|Inspector ในฐานข้อมูลส่วนกลาง์ได้ และมีฟังก์ชันสำหรับดึงข้อมูลคุณลักษณะต่างๆ Futaba ติดตั้งโซลูชันการเชื่อมต่อระบบดิจิทัล PolyWorks|DataLoop ในปี 2019 และได้รับประโยชน์จากการใช้โปรเจ็กต์การตรวจวัดแบบบูรณาการ ซึ่งมีแนวโน้มที่ข้อมูลจะกระจัดกระจายเนื่องจากมีการใช้งานอุปกรณ์การวัด 3 มิติมากขึ้น
หมายเหตุประกอบรูปภาพ นาย Kouhei Mizuno ผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์คุณภาพ
แผนกวิศวกรรมการผลิตตัวถัง ศูนย์วิศวกรรมการผลิต โรงงานที่ทาคาฮาชิ Futaba Industrial Co., Ltd.
ต้องขอบคุณ PolyWorks|DataLoop ที่ทำให้โปรเจ็กต์การตรวจวัดไม่เพียงใช้งานได้โดยสถานที่ผลิตของแต่ละโรงงานที่มีการวัดเกิดขึ้นเท่านั้น แต่ยังรวมถึงแผนกออกแบบกระบวนการผลิต และแผนกการจัดการด้วย จึงทำให้เข้าถึงองค์ความรู้และข้อมูลอันมีคุณค่าได้
นอกจากนี้ PolyWorks|DataLoop ยังช่วยให้บริษัทสามารถแชร์โปรเจ็กต์การตรวจวัดที่ใช้อุปกรณ์การวัด 3 มิติระหว่างโรงงานทุกแห่งได้
"เมื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์มีการเปลี่ยนแปลง ก็จำเป็นต้องแก้ไขโปรเจ็กต์การตรวจวัดด้วย" เมื่อก่อน ทุกโรงงานต้องทำการแก้ไข แต่ตอนนี้ PolyWorks|DataLoop ทำให้เราแชร์
โปรเจ็กต์ที่แก้ไขแล้วไปทั่วทั้งองค์กรได้เลย" นาย Kouhei Mizuno กล่าว
คุณประโยชน์
การใช้ PolyWorks|Inspector และอุปกรณ์การวัด 3 มิติ ทำให้ไม่ต้องจดผลลัพธ์ด้วยตนเองและไม่เกิดความผิดพลาดจากความคลาดเคลื่อนฝังติด (Inherent error) อีกต่อไป จึงช่วยประหยัดเวลาได้อย่างมาก เมื่อนำ PolyWorks|DataLoop เข้ามาใช้ Futaba Industrial ประมาณการว่า บริษัทจะลดชั่วโมงการทำงานในส่วนที่เกี่ยวกับการวัดได้ถึง 45% เมื่อเปรียบเทียบกับกระบวนการที่ต้องดำเนินการด้วยตนเองแบบเดิม
นอกจากนี้ วิศวกรของ Futaba ยังสามารถปฏิบัติงานด้านการวัดที่โรงงานได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องความแตกต่างระหว่างอุปกรณ์การวัดแต่ละเครื่อง เนื่องจากวิศวกรใช้ซอฟต์แวร์ PolyWorks|Inspector กับอุปกรณ์ทั้งหมด ในแง่ของการความสามารถในการใช้งาน นาย Kouhei Mizuno ประเมิน PolyWorks|Inspector ในระดับ "ยอดเยี่ยมมาก" และบริษัทสามารถติดตั้งซอฟต์แวร์ได้อย่างสบายใจเพราะได้รับการสนับสนุนที่ยอดเยี่ยมจากทีมงาน PolyWorks Japan ในช่วงปรับตัวให้เข้ากับการใช้งาน
นอกจากนี้ บริษัทยังได้ทราบถึงประสิทธิภาพ Color Map ของ PolyWorks|Inspector ในขณะทำงานด้านการวัดอีกด้วย Color Map จะแสดงความเบี่ยงเบนระหว่างโมเดล CAD กับวัตถุจริงด้วยสี ทำให้มองเห็นภาพความเบี่ยงเบนของชิ้นส่วนได้ง่ายและรวดเร็ว นาย Mizuno อธิบายว่า "เรามอบข้อมูล Color Map ให้แก่ลูกค้าและใช้เป็นหลักฐานแสดงความถูกต้องของชิ้นส่วนได้อย่างง่ายดาย"
ในท้ายที่สุดแล้ว การแชร์โปรเจ็กต์การตรวจวัดผ่านทาง PolyWorks|DataLoop ส่งผลต่อคุณภาพของการวัดเป็นอย่างมาก ปัจจุบันบริษัทสามารถแชร์โปรเจ็กต์ที่สร้างโดยวิศวกรที่มีความรู้ขั้นสูงไปยังแผนกต่างๆ ทั่วทั้งองค์กรได้ ซึ่งช่วยให้ Futaba Industrial มั่นใจในคุณภาพการวัดที่โรงงานทุกแห่ง
PolyWorks|Inspector สามารถแสดงความเบี่ยงเบนระหว่างโมเดล CAD กับวัตถุจริงผ่าน Color Map จึงทำให้ง่ายต่อการแสดงคุณภาพของชิ้นส่วนเป็นภาพ
แผนการดำเนินงานด้วย PolyWorks
ปัจจุบัน Futaba Industry ใช้ PolyWorks|Inspector และ PolyWorks|DataLoop เฉพาะในโรงงานภายในประเทศ แต่ก็มีแผนที่จะขยายขอบเขตการใช้งานไปยังโรงงานอีกหลายแห่งในต่างประเทศด้วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของทั้งกลุ่มบริษัท หากประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานด้านการวัดที่ใช้ PolyWorks|Inspector และการใช้ PolyWorks|DataLoop ในการจัดการข้อมูลมีความคืบหน้าไปทั่วโลก็ Futaba คาดว่าประสิทธิภาพโซลูชันของพวกเขาจะเพิ่มขึ้นถึงสองเท่า
นอกจากนี้ บริษัทยังคิดจะติดตั้ง PolyWorks|PMI+Loop™ ที่มอบโซลูชันเพิ่มข้อมูลคำสั่งลงในแบบโมเดล (MBD) สำหรับแพลตฟอร์ม CAD ซึ่งขยายขีดความสามารถของชุดเครื่องมือ PMI ให้กำหนด แผนการวัดที่สมบูรณ์ที่จำเป็นสำหรับการตรวจวัดชิ้นส่วน การใช้ PolyWorks|PMI+Loop ในซอฟต์แวร์ CAD โดยตรง ช่วยให้ทีมออกแบบสามารถเพิ่มประสิทธิภาพแผนการวัดด้วยข้อกำหนดที่โดยปกติแล้วทีมควบคุมคุณภาพมักจะเพิ่มเข้าไปในซอฟต์แวร์ PolyWorks|Inspector
"วิศวกรผู้รับผิดชอบกระบวนการออกแบบจะสร้างแบบ drawing ขึ้นมามากมายในขั้นตอนการทำงาน หาก drawing มีการแก้ไข เอกสารต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะต้องได้รับการแก้ไข
ดังกล่าวด้วย เราคาดว่าหากไฟล์ทั้งหมดที่จำเป็นต้องใช้ในการตรวจวัดชิ้นส่วน รวมถึงรูปแบบเรขาคณิต CAD และแผนการวัด ได้รับการจัดการจากส่วนกลาง เราจะสามารถขจัดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ไร้ประสิทธิภาพได้" นาย Kouhei Mizuno กล่าว
การพัฒนาธุรกิจเพื่อรองรับอนาคต
Futaba Industrial ตั้งเป้าหมายที่จะใช้ข้อมูลอย่างสอดคล้องกัน รวมถึงกระบวนการออกแบบและการผลิตที่เน้นการปฏิบัติงานด้านการวัด โดยใช้ประโยชน์จากโซลูชันของ PolyWorks ในฐานะผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่ต้องควบคุมคุณภาพอย่างเข้มงวดและมีการจัดการที่ยอดเยี่ยม บริษัทรู้สึกว่าการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิทัล (DX) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่จะทำให้บริษัทบรรลุวัตถุประสงค์ด้านนี้ได้
PolyWorks|Inspector พัฒนาขึ้นอย่างมากนับตั้งแต่เปิดตัวในปี 2001 และนำเสนอฟังก์ชันใหม่ๆ หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการตรวจวัดหลายชิ้นงาน การอัปเดตโปรเจ็กต์การตรวจวัดโดยอัตโนมัติ และปลั๊กอินสำหรับควบคุมอุปกรณ์การวัด 3 มิติแบบพกพาโดยตรง ในปี 2016 ฮับดิจิทัลอเนกประสงค์เสร็จสมบูรณ์ ช่วยให้ผู้ใช้เชื่อมต่อกับ CNC CMM แบรนด์ใหญ่ๆ ผ่านทางไดรเวอร์โดยตรงหรือ I++ ได้ นอกจากนี้แล้ว ปัจจุบัน PolyWorks ยังผสานรวมการวัดด้วยเครื่องมือเกจวัดดิจิทัลและการตรวจสอบด้วยภาพ จึงทำให้กลายเป็นแพลตฟอร์มอเนกประสงค์อย่างแท้จริง
ขั้นตอนการทำงานทั่วไปในการตรวจวัดชิ้นส่วนโดยใช้ซอฟต์แวร์ PolyWorks|Inspector จะประกอบไปด้วยการนำเข้าโมเดล CAD แบบที่มีหรือไม่มี PMI ไปยังโปรเจ็กต์การตรวจวัดที่ว่างเปล่า และการสร้างแผนการวัดด้วยค่าที่กำหนด จากนั้นจะมีการตรวจวัดชิ้นงานแรกด้วยการรับข้อมูลบนชิ้นงานผ่านการวัดด้วยหัวโพรบ การสแกน หรือเครื่องมือเกจวัดดิจิทัล หลังจากนั้นเพียงแค่ดำเนินการตรวจวัดซ้ำๆ เพื่อวัดชิ้นงานหลายๆ ชิ้นของชิ้นส่วนเดียวกัน เมื่อจัดตำแหน่งแต่ละชิ้นงานเข้ากับโมเดล CAD และวัดค่าแล้ว ระบบจะแสดงผลการตรวจวัดและสถิติ SPC ทันที ซึ่งจะแสดงให้เห็นปัญหาและแนวโน้มด้วย และหากต้องใช้อุปกรณ์การวัด 3 มิติหลายประเภทที่แตกต่างกันในการวัดชิ้นงาน ก็สามารถสร้างแม่แบบการวัดชิ้นงานสำหรับอุปกรณ์แต่ละประเภทได้ เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานอุปกรณ์หลายแบบภายในโปรเจ็กต์การตรวจวัดเดียวกัน ข้อมูลจากการสแกนจะถูกจัดเก็บไว้ในโปรเจ็กต์การตรวจวัด แต่สามารถส่งออกได้ หากจำเป็นต้องใช้