เพิ่มคุณค่าของข้อมูลการวัด 3 มิติของคุณ

การปรับใช้เครื่องมือและกระบวนการดิจิทัลที่เหมาะสมจะช่วยให้ผู้ผลิตนำข้อมูลการวัด 3 มิติไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น

การจัดการข้อมูลและการเชื่อมต่อระบบดิจิทัล

เพิ่มคุณค่าของข้อมูลการวัด 3 มิติของคุณ
 

 

การจัดการข้อมูลและการเชื่อมต่อระบบดิจิทัล

เพิ่มคุณค่าของข้อมูลการวัด 3 มิติของคุณ

 

การปรับใช้เครื่องมือและกระบวนการดิจิทัลที่เหมาะสมจะช่วยให้ผู้ผลิตนำข้อมูลการวัด 3 มิติไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น


นวัตกรรมสำคัญในฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์การวัด 3 มิติ ตลอด 20 ปีที่ผ่านมาได้ขับเคลื่อนการเติบโตของเทคโนโลยีเหล่านี้อย่างมาก ในแวดวงการผลิต ในขั้นตอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีเหล่านี้ลดจำนวนตัวต้นแบบและการทำงานซ้ำๆ ที่จำเป็น ต่อการสร้างเครื่องมือการผลิตที่ทำงานได้จริง รวมทั้งช่วยปรับปรุงผลิตภัณฑ์อย่างละเอียด และเร่งกระบวนการประกอบให้รวดเร็วยิ่งขึ้นในขั้นตอนก่อนการผลิต ในส่วนการผลิต เทคโนโลยีเหล่านี้ทำให้การตรวจจับ วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาการผลิตเป็นไปได้ ซึ่งคุณประโยชน์เหล่านี้ไม่ใช่เรื่องเล็กเลย

เมื่อดูจากคุณประโยชน์มหาศาลที่การวัด 3 มิติ มอบให้แก่กระบวนการออกแบบและการผลิต คุณอาจแปลกใจที่ได้รู้ว่ากระบวนการวัด 3 มิติ ไม่ได้พัฒนาขึ้นเท่าใดนักในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา โดยยังต้องอาศัยการแลกเปลี่ยนไฟล์และโฟลเดอร์ด้วยตัวเอง พูดกันตามตรงก็คือ การแบ่งปันรายงานและโปรเจ็กต์การตรวจวัดต้องดำเนินการด้วยตัวเอง โดยการคัดลอกไฟล์ลงในไดรฟ์เครือข่าย หรือแชร์ด้วย USB แฟลชไดรฟ์ แม้แต่ตอนใช้ฐานข้อมูลเพื่อทำให้การแชร์ง่ายขึ้น ไฟล์ที่มีขนาดใหญ่มากก็ยังต้องอัปโหลดขึ้นระบบ ทำให้การโอนข้อมูลล่าช้า และการโอนข้อมูลได้ช้าทำให้การผลิตช้าไปด้วย

ฝ่ายงานด้านการผลิตหลายๆ ฝ่ายต้องใช้ข้อมูลการวัด 3 มิติ อยู่เป็นประจำ แต่บ่อยครั้งที่การรับข้อมูลเหล่านี้ขาดประสิทธิภาพอย่างยิ่ง แม้ว่าวิธีการเดิมๆ จะยังทำงานได้ แต่ปัจจุบันเรามีตัวเลือกอื่นที่ดีกว่า เทคโนโลยีดิจิทัลจะช่วยบรรเทาปัญหานี้ และเพิ่มคุณค่าให้กับข้อมูลการวัด 3 มิติ ได้หรือไม่ ตอบคำเดียวเลยว่า ได้

3 ขั้นตอนเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับข้อมูลการวัด 3 มิติ อย่างมหาศาล

 

ขั้นตอนแรกคือตั้งค่าระบบการจัดการข้อมูลทั่วองค์กรสำหรับข้อมูลการวัด 3 มิติ ทำไมถึงจำเป็นน่ะหรือ เพราะปัญหาพื้นฐานข้อแรกที่ต้องแก้ไขคือการเข้าถึงข้อมูล ระบบการจัดการข้อมูลที่เหมาะสม จะขจัดอุปสรรคและเพิ่มความเร็วให้แก่การผลิตโดยรวม

และตอนนี้แน่นอนว่ามีอุปสรรคอยู่แล้ว พนักงานใช้เวลาเฉลี่ย 1.8 ชั่วโมงในแต่ละวัน หรือ 9.3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ในการค้นหาและรวบรวมข้อมูล อ้างอิงจากรายงาน McKinsey ฉบับหนึ่ง ในขอบเขตของงานคุณภาพ InnovMetric สำรวจความเห็นจากผู้ปฏิบัติงานด้านการควบคุมคุณภาพ และพบว่าพวกเขาใช้เวลาโดยเฉลี่ยมากกว่าสามชั่วโมงทุกสัปดาห์ ในการค้นหา จัดทำไฟล์ และแชร์ไฟล์โปรเจ็กต์การตรวจวัดกับเพื่อนร่วมงาน การแชร์โปรเจ็กต์เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในขั้นตอนการทำงาน และในกระบวนการผลิตที่มีปริมาณสูง โดยทั่วไปนั้น มีโปรเจ็กต์การตรวจวัดนับร้อยที่จำเป็นต้องจัดการ และแชร์ในแต่ละสัปดาห์

ระบบการจัดการข้อมูลทำให้ข้อมูลการวัด 3 มิติ เข้าถึงได้ไม่ต่างจากกล่องขาเข้าของอีเมล โดย:

  • ทำให้การจัดการไฟล์เป็นขั้นตอนอัตโนมัติ 

  • รับรองความปลอดภัยและความสมบูรณ์ของข้อมูล โดยการจัดเก็บข้อมูลแบบรวมศูนย์ และใช้กลยุทธ์การสำรองข้อมูลที่น่าเชื่อถือ

  • มีเครื่องมือการค้นหาที่ทำให้ค้นหาโปรเจ็กต์การวัด 3 มิติ ได้ง่าย โดยการพิมพ์คำสำคัญแทนที่การเรียกดูไฟล์

  • จัดการสิทธิ์อนุญาตเพื่อควบคุมผู้ที่มีสิทธิ์เข้าถึง และสิ่งที่ทำได้กับข้อมูล

เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น ระบบการจัดการข้อมูลมากมายยังเสนอบริการเข้าถึงข้อมูล ผ่านเว็บเบราว์เซอร์ และแอปมือถือด้วย ลองนึกถึงการเปิดโปรเจ็กต์การวัด 3 มิติ บนแพลตฟอร์มไหนก็ได้จากทุกที่ดูสิ! ในที่สุด ความสะดวกสบายของเทคโนโลยีผู้บริโภค ก็นำมาใช้กับการวัด 3 มิติ เสียที เมื่อมีเทคโนโลยีนี้ การผนวกการสื่อสารผ่านช่องทางดิจิทัล ไว้ในกระบวนการผลิตยังจะเป็นไปได้อีกด้วย เช่น ทุกคนในองค์กรจะสามารถแชร์ข้อมูลการวัด 3 มิติ ได้อย่างง่ายดายผ่านทางอีเมลหรือแชท ช่วยให้ผู้รับตรวจสอบข้อมูลในเว็บเบราว์เซอร์ได้ด้วยคลิกเดียว

และเมื่อแชร์ข้อมูลการวัด 3 มิติ และการสื่อสารได้ง่ายขึ้นผ่านเครื่องมือดิจิทัล ระบบการจัดการข้อมูล จะช่วยยกระดับการออกแบบผลิตภัณฑ์ ขั้นตอนก่อนการผลิต และการผลิต เนื่องจากสิ่งเหล่านี้จะทำให้:

  • สามารถทำซ้ำได้รวดเร็วขึ้น และอาจน้อยลงเมื่อแก้ไขปัญหาการผลิต

  • การประสานงานข้ามแผนกมีประสิทธิภาพมากขึ้น

  • การประสานงานกับซัพพลายเออร์ภายนอกทำได้ง่ายขึ้น

  • การปฏิสัมพันธ์เป็นแบบเรียลไทม์

 

ขั้นตอนที่สองคือ การปรับใช้กลยุทธ์การจัดการข้อมูลเมต้า ข้อมูลเมต้าคือข้อมูลกระบวนการหลักเกี่ยวกับชิ้นส่วนต่างๆ ซึ่งอธิบายบริบทการออกแบบ (หมายเลขชิ้นส่วน, หมายเลขแบบร่าง เป็นต้น), ระบุคุณลักษณะวิธีการขึ้นรูปชิ้นส่วน (หมายเลขซีเรียล, หมายเลขสายการผลิต เป็นต้น) และอธิบายวิธีการวัดชิ้นงาน (ชื่อผู้ปฏิบัติงาน, ID อุปกรณ์ เป็นต้น) ผู้ผลิตควรระบุข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บเป็นข้อมูลเมต้าในระบบการจัดการข้อมูล และควบคุมคุณภาพของข้อมูลนั้น

ข้อมูลเมตาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูลการวัด 3 มิติ:

  • แทนที่ต้องใช้เวลา 5-15 นาทีในการค้นหาโปรเจ็กต์การตรวจวัด โปรเจ็กต์จะแสดงขึ้นมาหลังจากค้นหาเพียง 15 ถึง 30 วินาที แค่ป้อนรายละเอียดเพียงหนึ่งหรือสองอย่าง เกี่ยวกับโปรเจ็กต์ เช่น หมายเลขซีเรียลและหมายเลขชิ้นงาน ผู้ใช้ก็จะค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่ครั้งแรก

  • ข้อมูลเมต้าจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการวิเคราะห์ต้นเหตุ เพื่อระบุและแก้ไขปัญหาการผลิต เช่น การเปรียบเทียบคุณภาพชิ้นส่วนที่ผลิตโดยซัพพลายเออร์สองราย ซึ่งจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อชิ้นงานที่วัดเชื่อมโยงไว้ กับซัพพลายเออร์รายที่ถูกต้อง

 

ขั้นตอนที่สามคือ การเปิดการเข้าถึง ให้กับผู้ใช้ทุกคน ในระบบการบริหารจัดการวงจรของผลิตภัณฑ์ (PLM) ระบบ PLM จัดการวงจรการผลิตของผลิตภัณฑ์ทั้งหมด โดยผสานรวมข้อมูล กระบวนการ ระบบ และผู้คนเข้าด้วยกัน รวมทั้งมอบโครงสร้างพื้นฐานสำหรับข้อมูลผลิตภัณฑ์ เมื่อมีระบบการจัดการข้อมูลที่กำหนด URL แบบเสถียร ซึ่งก็คือที่อยู่สำหรับไปยังแหล่งต่างๆ ผ่านทางเว็บ -- คุณจะสามารถแทรกไฮเปอร์ลิงก์ลงในรายการ PLM ของชิ้นงานเดียวหรือชุดประกอบต่างๆ เพื่ออนุญาตให้ผู้ใช้ PLM ตรวจสอบข้อมูลและผลการวัด 3 มิติ ในเว็บเบราว์เซอร์ด้วยการคลิกครั้งเดียว

การผนวกรวมข้อมูลการวัด 3 มิติ เข้ากับกระบวนการ PLM แบบดิจิทัล จะเร่งความเร็วให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และเป็นการเพิ่มคุณภาพแบบเชิงรุก เช่น วิศวกรการผลิตสามารถใช้ข้อมูลการวัด 3 มิติ มาแก้ไขปัญหาการออกแบบและการผลิต และตรวจสอบว่าการแก้ไขประสบความสำเร็จหรือไม่ และจดบันทึกสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงทางวิศวกรรมได้ นอกจากนี้ ยังเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการอนุมัติที่ใช้ PLM ที่มีอยู่เดิมได้ด้วย โดยการเชื่อมโยงไฟล์ CAD ฉบับแก้ไขเข้ากับข้อมูลการวัด 3 มิติ ที่เกี่ยวข้อง สุดท้าย ข้อมูลการวัด 3 มิติอาจให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่นักออกแบบ สำหรับการวิเคราะห์กระบวนการผลิตในปัจจุบัน เพื่อปรับปรุงงานออกแบบในอนาคตได้

ทำไมจึงควรเปลี่ยนไปใช้ระบบดิจิทัลโดยเริ่มจากกระบวนการวัด 3 มิติ

การปรับใช้ระบบการจัดการข้อมูล กลยุทธ์ข้อมูลเมต้าแบบกำหนดเอง และการเชื่อมต่อกับระบบ PLM ผ่านระบบดิจิทัล ทำให้ข้อมูลการวัด 3 มิติ กลายมาเป็นหัวใจของกระบวนการทางวิศวกรรมและการผลิตของผู้ผลิต และนี่คือเหตุผลสำคัญ 4 ประการ ที่องค์กรผู้ผลิตควรพิจารณาให้กระบวนการวัด 3 มิติ เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับเส้นทางการเปลี่ยนไปใช้ระบบดิจิทัล:

 

Build an initial success

สร้างความสำเร็จขั้นต้น

  • สามัญสำนึกบอกว่า องค์กรควรให้ความสำคัญกับโปรเจ็กต์ที่มีมูลค่าไม่มาก และให้ผลตอบแทนจากการลงทุนได้อย่างรวดเร็วก่อน ผลไม้ที่ใกล้สุกย่อมขายง่ายกว่าอยู่แล้ว เมื่อปรับใช้ระบบการจัดการข้อมูลการวัด 3 มิติ เช่นPolyWorks|DataLoop™ จาก InnovMetric องค์กรจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนคืนภายในไม่กี่สัปดาห์ผ่านประสิทธิภาพการผลิตที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ การเริ่มต้นจากโปรเจ็กต์ง่ายๆ ที่มอบประโยชน์ที่จับต้องได้ และให้ผลตอบแทนจากการลงทุนได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นวิธีที่เร็วที่สุดในการผลักดันให้พนักงาน สนับสนุนการเปลี่ยนไปใช้ระบบดิจิทัลได้สำเร็จ
Minimize business risks

ลดความเสี่ยงทางธุรกิจ

  • องค์กรสามารถทำตาม 3 ขั้นตอน ในการเปลี่ยนมาใช้ระบบดิจิทัลเราที่นำเสนออย่างค่อยเป็นค่อยได้ โดยแบ่งการดำเนินการออกเป็นหลายระยะ เพราะแต่ละระยะเป็นอิสระจากกัน ทั้งนี้ เพื่อลดการหยุดชะงักในการทำงาน และมีเวลาให้ทีมงานได้สร้างทักษะดิจิทัลใหม่ๆ ได้อย่างเหลือเฟือ
Create a structuring framework

สร้างกรอบงานที่มีโครงสร้าง

  • URL แบบเสถียรที่ได้มาจากระบบการจัดการข้อมูล ช่วยในการสื่อสารเนื้อหาแบบครบครันผ่านระบบดิจิทัล เนื่องจากทีมจะสามารถฝังข้อมูลการวัด 3 มิติ ไว้กับข้อความเพื่อประสานงานกับเพื่อนร่วมงานได้
  • การเข้าถึงผ่านเว็บเบราว์เซอร์ อุปกรณ์มือถือ และ PLM โซลูชันนี้ ยังช่วยรับรองด้วยว่าทุกคนในองค์กรจะมีข้อมูลการวัด 3 มิติ พร้อมใช้เสมอไม่ว่าจะอยู่ในแผนกใด
Increase data quality

เพิ่มคุณภาพข้อมูล

  • ความพร้อมใช้งานของผลการวัดแบบ 3 มิติ แทนการใช้รายงาน 2 มิติ แบบเดิมๆ ทำให้สามารถตรวจสอบข้อมูลรายละเอียดในโปรเจ็กต์การตรวจวัด 3 มิติ ที่มีข้อมูลมากมายได้ ซึ่งจะช่วยให้วิเคราะห์ปัญหาเชิงมิติได้จากหลากหลายมุมมอง
  • ความพร้อมใช้งานของดิจิทัลทวิน สำหรับชิ้นงานที่สแกน ยังช่วยให้สามารถทำการวัดเพิ่มเติมบนชิ้นงานเดียว หรือหลายชิ้นงาน เพื่อวิเคราะห์พื้นที่ที่มีปัญหาในเชิงลึกมากขึ้น
  • การใช้ระบบการจัดการข้อมูลจะรับรองว่า ข้อมูลที่ใช้จะเป็นโปรเจ็กต์ฉบับปรับปรุงล่าสุดเสมอ
Build an initial success

สร้างความสำเร็จขั้นต้น

  • สามัญสำนึกบอกว่า องค์กรควรให้ความสำคัญกับโปรเจ็กต์ที่มีมูลค่าไม่มาก และให้ผลตอบแทนจากการลงทุนได้อย่างรวดเร็วก่อน ผลไม้ที่ใกล้สุกย่อมขายง่ายกว่าอยู่แล้ว เมื่อปรับใช้ระบบการจัดการข้อมูลการวัด 3 มิติ เช่นPolyWorks|DataLoop™ จาก InnovMetric องค์กรจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนคืนภายในไม่กี่สัปดาห์ผ่านประสิทธิภาพการผลิตที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ การเริ่มต้นจากโปรเจ็กต์ง่ายๆ ที่มอบประโยชน์ที่จับต้องได้ และให้ผลตอบแทนจากการลงทุนได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นวิธีที่เร็วที่สุดในการผลักดันให้พนักงาน สนับสนุนการเปลี่ยนไปใช้ระบบดิจิทัลได้สำเร็จ

 

Minimize business risks

ลดความเสี่ยงทางธุรกิจ

  • องค์กรสามารถทำตาม 3 ขั้นตอน ในการเปลี่ยนมาใช้ระบบดิจิทัลเราที่นำเสนออย่างค่อยเป็นค่อยได้ โดยแบ่งการดำเนินการออกเป็นหลายระยะ เพราะแต่ละระยะเป็นอิสระจากกัน ทั้งนี้ เพื่อลดการหยุดชะงักในการทำงาน และมีเวลาให้ทีมงานได้สร้างทักษะดิจิทัลใหม่ๆ ได้อย่างเหลือเฟือ

 

Create a structuring framework

สร้างกรอบงานที่มีโครงสร้าง

  • URL แบบเสถียรที่ได้มาจากระบบการจัดการข้อมูล ช่วยในการสื่อสารเนื้อหาแบบครบครันผ่านระบบดิจิทัล เนื่องจากทีมจะสามารถฝังข้อมูลการวัด 3 มิติ ไว้กับข้อความเพื่อประสานงานกับเพื่อนร่วมงานได้
  • การเข้าถึงผ่านเว็บเบราว์เซอร์ อุปกรณ์มือถือ และ PLM โซลูชันนี้ ยังช่วยรับรองด้วยว่าทุกคนในองค์กรจะมีข้อมูลการวัด 3 มิติ พร้อมใช้เสมอไม่ว่าจะอยู่ในแผนกใด

 

Increase data quality

เพิ่มคุณภาพข้อมูล

  • ความพร้อมใช้งานของผลการวัดแบบ 3 มิติ แทนการใช้รายงาน 2 มิติ แบบเดิมๆ ทำให้สามารถตรวจสอบข้อมูลรายละเอียดในโปรเจ็กต์การตรวจวัด 3 มิติ ที่มีข้อมูลมากมายได้ ซึ่งจะช่วยให้วิเคราะห์ปัญหาเชิงมิติได้จากหลากหลายมุมมอง
  • ความพร้อมใช้งานของดิจิทัลทวิน สำหรับชิ้นงานที่สแกน ยังช่วยให้สามารถทำการวัดเพิ่มเติมบนชิ้นงานเดียว หรือหลายชิ้นงาน เพื่อวิเคราะห์พื้นที่ที่มีปัญหาในเชิงลึกมากขึ้น
  • การใช้ระบบการจัดการข้อมูลจะรับรองว่า ข้อมูลที่ใช้จะเป็นโปรเจ็กต์ฉบับปรับปรุงล่าสุดเสมอ

โซลูชันที่มีอยู่แล้ว

โซลูชันพร้อมใช้ที่น่าเชื่อถือ และพิสูจน์แล้วที่มอบกระบวนการวัด 3 มิติ แบบดิจิทัลมีอยู่จริง ด้วยระบบการจัดการข้อมูลสมัยใหม่สำหรับข้อมูลการวัด 3 มิติ ที่ช่วยจัดเก็บข้อมูลการวัด 3 มิติ แบบรวมศูนย์ และทำให้เข้าถึงข้อมูลอย่างง่ายดาย ระบบนิเวศดิจิทัล PolyWorks® จะเพิ่มคุณค่าให้กับข้อมูลการวัด 3 มิติ ขององค์กรผู้ผลิตได้อย่างมหาศาล

การแชร์ข้อมูลอย่างราบรื่นเป็นสิ่งที่ทุกองค์กรต้องการ ผู้ผลิตต่างก็ต้องการข้อมูลการวัด 3 มิติ และต้องการโดยเร็วที่สุดเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ซึ่งคุณค่าของข้อมูลการวัด 3 มิติ จะเพิ่มขึ้นตามความเร็วที่ข้อมูลมาถึง!